กระดาษในการพิมพ์

เรื่องราวน่ารู้ของกระดาษในการพิมพ์

แกรมคืออะไร

เมื่อ เราพูดถึงกระดาษขนาด 70 แกรม กับ 60 แกรม เราคงพอจะรู้กันว่ากระดาษที่มีจำนวนแกรมมากว่า คือกระดาษที่มีขนาดหนากว่ากันอยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่เราเคยสงสัยกันมั้ยว่า แกรมที่ว่านี้ มันคืออะไรวัดกันยังไง จริง ๆ แล้ว คำว่าแกรมนี้ ก็คือกรัม (gram) นั่นเองครับ เป็นหน่วยที่เราใช้วัดมวลกระดาษว่า เมื่อนำกระดาษชนิดหนึ่ง ๆ ที่มีพื้นที่ 1 x 1 ตารางเมตรมาชั่งแล้ว จะมีน้ำหนักกี่กรัม (แกรม) ฉะนั้น กระดาษขนาด 120 แกรม จึงหมายถึงกระดาษขนาด ที่มีน้ำหนัก 120 กรัม / ตารางเมตร นั่นเอง

ใน ทางกระบวนการพิมพ์แล้ว กระดาษที่มีจำนวนแกรมน้อย (บาง) จะทำให้แสงส่องผ่านได้มากกว่า เมื่อทำการพิมพ์ไปแล้วจึงมีโอกาสเป็นไปได้มากที่จะมองทะลุไปเห็นหน้าตรงข้าม ทำให้ดูแล้วไม่สวยงามแล้วยังรบกวนการอ่านด้วยครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็จะต้อง balance เรื่องของความหนาให้เหมาะสมกับจำนวนหน้าและประเภทของหนังสือที่พิมพ์ให้ดี ด้วย หนังสือที่หนามากไม่ควรจะใช้กระดาษที่หนาเกินไป เพราะจะทำให้หนักและหนาไม่น่าอ่าน อีกทั้งยังส่งผลโดยตรงต่อราคาต้นทุนด้วยครับ ส่วนหนังสือที่มีจำนวนหน้าน้อย การใช้กระดาษที่หนาขึ้นมานิดนึง อาจจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นนิดหน่อย แต่ก็จะทำให้หนังสือไม่บางจนเกินไป ดูแล้วสวยงามไม่น่าเกลียดครับ แกรมที่เหมาะสมสำหรับการพิมพ์เนื้อหาด้านในคือ 70 – 80 แกรมครับ

ส่วน การพิมพ์หน้าปกนั้น ต่างจากการพิมพ์เนื้อหาด้านในอยู่ เพราะปกเป็นสิ่งที่ห่อหุ้มไส้ในไว้ จึงจำเป็นจะต้องแข็งแรงและปกป้องอายุของหนังสือ ไว้ได้นานระดับหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นสิ่งแรกสุดที่ผู้อ่านเห็น หน้าปกที่สวยงามดึงดูดตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น กระดาษที่ใช้จึงจะต้องหนาและเหมาะสมแก่การพิมพ์ปก ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ใช้ 120 แกรมขึ้นไปสำหรับการพิมพ์ปกครับ

จำนวนแกรมที่นิยมใช้ในงานต่าง ๆ จะเป็นประมาณนี้ครับ
ใบเสร็จ สิ่งพิมพ์ที่ต้องมีสำเนา หรือหน้าในของ dictionary     40-50 แกรม
กระดาษหัวจดหมาย หน้าเนื้อในของหนังสือ นิตยสาร เนื้อในของสมุด     70-80 แกรม
โบรชัวร์สี่สี หน้าสี่สีของนิตยสาร โปสเตอร์     120 – 160 แกรม
ปกหนังสือ นิตยสาร สมุด แฟ้มนำเสนองาน กล่องสินค้า     300 แกรมขึ้นไป


ชนิดของกระดาษ

ชนิด ของกระดาษเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่แปรผันตรงกับต้นทุนการพิมพ์ครับ กระดาษที่ดีมีคุณภาพสูงจะให้งานที่ออกมาดูดี สวยงามและคงทน แต่ก็จะทำให้ต้นทุนสูงตามไปด้วย เหมาะกับงานที่ต้องการความประณีตสูง เก็บไว้ใช้งานได้นาน กระดาษคุณภาพรองลงมาอาจจะใช้สำหรับงานที่ไม่ต้องการความสวยงามมาก หรือไม่ต้องการเก็บไว้นาน เช่น ใบปลิว หนังสือพิมพ์ อะไรแบบนี้ครับ

  •   กระดาษอาร์ต
  •   กระดาษชนิดนี้เนื้อจะแน่น ผิวเรียบ เหมาะสำหรับงานพิมพ์สี่สี เช่น โปสเตอร์ โบรชัวร์ ปกวารสาร ฯลฯ กระดาษชนิดนี้ราคาค่อนข้างสูง คุณภาพกระดาษก็แตกต่างกันไปแล้วแต่มาตรฐานของผู้ผลิตด้วย มีให้เลือกหลายแบบ ได้แก่
  •   กระดาษอาร์ตมัน เนื้อกระดาษเรียบ เป็นมันเงา พิมพ์งานได้ใกล้เคียงกับสีจริง สามารถเคลือบเงาได้ดี ความหนาของกระดาษมีดังนี้ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม,120 แกรม , 130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
  •   กระดาษอาร์ตด้าน เนื้อกระดาษเรียบ แต่เนื้อไม่มัน พิมพ์งานสีจะซีดลงเล็กน้อย แต่ดูหรู ความหนาของกระดาษมีดังนี้ คือ 85 แกรม, 90 แกรม, 100 แกรม, 105 แกรม, 120 แกรม ,130 แกรม, 140 แกรม, 160 แกรม
  •   กระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานโปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ หรืองานต่างๆ ที่ต้องการความหนา
  •   กระดาษอาร์ตการ์ด 1 หน้า เป็นกระดาษอาร์ตที่มีความแกร่งกว่ากระดาษอาร์ตการ์ด 2 หน้า หนาตั้งแต่ 190 แกรมขึ้นไป เหมาะสำหรับพิมพ์งานที่ต้องการพิมพ์แค่หน้าเดียว เช่น กล่องบรรจุสินค้าต่างๆ โปสเตอร์ โปสการ์ด ปกหนังสือ เป็นต้น
  •   กระดาษปอนด์
  •   เป็นกระดาษเนื้อเรียบสีขาว นิยมใช้พิมพ์งานสีเดียว หรือพิมพ์สี่สีก็ได้แต่ไม่สวยเท่ากระดาษอาร์ต สามารถเขียนได้ง่ายกว่าทั้งปากกาและดินสอ เหมาะสำหรับพิมพ์เนื้อในหนังสือ กระดาษหัวจดหมาย ฯลฯ ความหนากระดาษที่นิยมใช้พิมพ์หนังสืออยู่ที่ 70-100 แกรม
  •   กระดาษปรู๊ฟ
  •   กระดาษปรู๊ฟ มีเนื้อกระดาษหยาบ สีน้ำตาล หรือขาวหม่น ฉีกขาดง่าย ราคาถูกที่สุด เหมาะสำหรับพิมพ์งานจำนวนมากๆ เช่น หนังสือพิมพ์
  •   กระดาษแบงค์
  •   กระดาษแบงค์เป็นกระดาษบางๆ มักจะมีสี เช่น สีชมพู สีฟ้า นิยมใช้พิมพ์บิลต่างๆ หรือใบปลิว ความหนาประมาณ 55 แกรม ขึ้นไป
  •   กระดาษแอร์เมล์
  •   เนื้อกระดาษบางประมาณ 38 แกรม สำหรับพิมพ์บิล
Visitors: 283,295